"แมว"
เป็นเพื่อนสี่ขาแสนรักของมนุษย์มาแต่ไหนแต่ไร โดยธรรมชาติของแมว
เป็นสัตว์ที่เป็นนักล่าที่มีความรักสันโดษ มีความเป็นส่วนตัวสูงแต่รักอิสระ
การที่มีนิสัยรักอิสระ
ชอบท่องเที่ยวสู่โลกภายนอกก็เป็นอีกเหตุปัจจัยสำคัญในการแพร่เชื้อโรคต่างๆ
ทั้งกับแมวด้วยกันเอง หรือแม้แต่กับตัวเจ้าของซึ่งอาจทำให้ติดโรคจากสัตว์เลี้ยงแสนรักของตัวเองมาโดยไม่รู้ตัว
สัตวแพทย์หญิงปิยวรรณ ภู่ระหงษ์ ให้ข้อมูลว่า วิถีชีวิตของแมวมีผลโดยตรงต่อสภาพความเป็นอยู่โดยทั่วไป แมวที่ใช้ชีวิตกลางแจ้งได้อย่างอิสระจะมีชีวิตที่เป็นธรรมชาติมากกว่า แต่ในขณะเดียวกันก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะได้รับบาดเจ็บและเสี่ยงต่อการติดโรคได้ง่ายตามไปด้วย บางโรคอาจร้ายแรงจนทำให้แมวถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยโรคที่พบบ่อยๆ ได้แก่
1. โรคติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจของแมว หรือที่เรียกว่า โรคหวัดแมว (cat flu) ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจของแมว พบได้บ่อยโดยเฉพาะในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง ซึ่งสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งเป็นไวรัสจำเพาะในแมว ได้แก่ Feline Viral Rhinotracheitis Virus (FVRC) หรือ Feline Herpevirus (FHV) และ Feline Calici Virus (FCV) ซึ่งสามารถพบการติดเชื้อร่วมกันได้ นอกจากนี้อาจมีอาการติดเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ ร่วมด้วยได้ เช่น Bordetella หรือ Chlamydia สำหรับเชื้อ Chlamydia ที่ติดร่วมนั้นจะทำให้แมวมีอาการตาอักเสบ เยื่อบุตาบวมอักเสบ มีขี้ตาเขียว เป็นต้น
2. โรคไข้หัดแมว (Feline panleukopenia,Feline parvovirus) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มพาร์โวไวรัสในแมว (Feline parvovirus) หรือ Feline distemper มีผลต่อระบบทางเดินอาหารของแมว พบรายงานการพบโรคนี้มานานแล้ว ซึ่งสามารถพบในแมวทุกตระกูล ไม่ว่าจะเป็น เสือ สิงโต แมวป่า หรือแม้แต่แมวบ้านทุกพันธุ์นอกจากนี้ยังพบได้ในสัตว์ตระกูลอื่นๆ อีก เช่น สกั๊งค์ เฟอเร็ต มิ้งค์ แรคคูน ซึ่งโรคนี้ทำให้แมวมีอาการอาเจียนและท้องเสีย บางครั้งอาจมีอาการหวัดแทรกซ้อน จึงมีคนเรียกชื่อต่างๆ มากมาย เช่น “โรคไข้หัดแมว” (Cat distemper) และ “โรคลำไส้อักเสบในแมว” (Feline Parvovirus Enteritis) เป็นต้น
3. โรคมะเร็งเม็ดโลหิตขาว หรือโรคลิวคีเมีย (Feline leukemia virus ; FeLV) เกิดจากการติดเชื้อ feline leukemia virus เป็นโรคติดเชื้อโรคหนึ่งที่มีความสำคัญและพบได้บ่อยในแมว เชื้อไวรัสดังกล่าวสามารถติดต่อได้ทั้งแมวเลี้ยง รวมทั้งสัตว์ป่าตระกูลแมว การติดเชื้อ FeLV ในแมวสามารถแบ่งเป็นกลุ่มอาการได้ 2 แบบคือ
- เกิดการกดภูมิคุ้มกันในร่างกายส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่างๆแทรกซ้อนได้ง่าย ทำให้เกิดภาวะเลือดจางเรื้อรัง
- เกิดลักษณะก้อนเนื้องอก ก้อนเนื้อมะเร็ง ตามตำแหน่งต่างๆในร่างกายเช่นในช่องอก ช่องท้องและต่อมน้ำเหลืองต่างๆทั่วร่างกาย
การติดต่อของเชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถติดต่อผ่านทางการสัมผัสน้ำลาย ปัสสาวะ น้ำตา หรืออุจจาระของสัตว์ป่วย รวมทั้งการติดเชื้อผ่านจากแม่แมวสู่ลูกแมวในขณะตั้งท้อง ส่วนใหญ่มักพบในแมวที่มีพฤติกรรมอาศัยอยู่นอกบ้าน
สัตวแพทย์หญิงปิยวรรณ ภู่ระหงษ์ ให้ข้อมูลว่า วิถีชีวิตของแมวมีผลโดยตรงต่อสภาพความเป็นอยู่โดยทั่วไป แมวที่ใช้ชีวิตกลางแจ้งได้อย่างอิสระจะมีชีวิตที่เป็นธรรมชาติมากกว่า แต่ในขณะเดียวกันก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะได้รับบาดเจ็บและเสี่ยงต่อการติดโรคได้ง่ายตามไปด้วย บางโรคอาจร้ายแรงจนทำให้แมวถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยโรคที่พบบ่อยๆ ได้แก่
1. โรคติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจของแมว หรือที่เรียกว่า โรคหวัดแมว (cat flu) ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจของแมว พบได้บ่อยโดยเฉพาะในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง ซึ่งสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งเป็นไวรัสจำเพาะในแมว ได้แก่ Feline Viral Rhinotracheitis Virus (FVRC) หรือ Feline Herpevirus (FHV) และ Feline Calici Virus (FCV) ซึ่งสามารถพบการติดเชื้อร่วมกันได้ นอกจากนี้อาจมีอาการติดเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ ร่วมด้วยได้ เช่น Bordetella หรือ Chlamydia สำหรับเชื้อ Chlamydia ที่ติดร่วมนั้นจะทำให้แมวมีอาการตาอักเสบ เยื่อบุตาบวมอักเสบ มีขี้ตาเขียว เป็นต้น
2. โรคไข้หัดแมว (Feline panleukopenia,Feline parvovirus) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มพาร์โวไวรัสในแมว (Feline parvovirus) หรือ Feline distemper มีผลต่อระบบทางเดินอาหารของแมว พบรายงานการพบโรคนี้มานานแล้ว ซึ่งสามารถพบในแมวทุกตระกูล ไม่ว่าจะเป็น เสือ สิงโต แมวป่า หรือแม้แต่แมวบ้านทุกพันธุ์นอกจากนี้ยังพบได้ในสัตว์ตระกูลอื่นๆ อีก เช่น สกั๊งค์ เฟอเร็ต มิ้งค์ แรคคูน ซึ่งโรคนี้ทำให้แมวมีอาการอาเจียนและท้องเสีย บางครั้งอาจมีอาการหวัดแทรกซ้อน จึงมีคนเรียกชื่อต่างๆ มากมาย เช่น “โรคไข้หัดแมว” (Cat distemper) และ “โรคลำไส้อักเสบในแมว” (Feline Parvovirus Enteritis) เป็นต้น
3. โรคมะเร็งเม็ดโลหิตขาว หรือโรคลิวคีเมีย (Feline leukemia virus ; FeLV) เกิดจากการติดเชื้อ feline leukemia virus เป็นโรคติดเชื้อโรคหนึ่งที่มีความสำคัญและพบได้บ่อยในแมว เชื้อไวรัสดังกล่าวสามารถติดต่อได้ทั้งแมวเลี้ยง รวมทั้งสัตว์ป่าตระกูลแมว การติดเชื้อ FeLV ในแมวสามารถแบ่งเป็นกลุ่มอาการได้ 2 แบบคือ
- เกิดการกดภูมิคุ้มกันในร่างกายส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่างๆแทรกซ้อนได้ง่าย ทำให้เกิดภาวะเลือดจางเรื้อรัง
- เกิดลักษณะก้อนเนื้องอก ก้อนเนื้อมะเร็ง ตามตำแหน่งต่างๆในร่างกายเช่นในช่องอก ช่องท้องและต่อมน้ำเหลืองต่างๆทั่วร่างกาย
การติดต่อของเชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถติดต่อผ่านทางการสัมผัสน้ำลาย ปัสสาวะ น้ำตา หรืออุจจาระของสัตว์ป่วย รวมทั้งการติดเชื้อผ่านจากแม่แมวสู่ลูกแมวในขณะตั้งท้อง ส่วนใหญ่มักพบในแมวที่มีพฤติกรรมอาศัยอยู่นอกบ้าน
4. โรคเอดส์แมว (Feline
immunodeficiency virus; FIV) เกิดจากการติดเชื้อไวรัส FIV
ในกลุ่ม retrovirus แมวป่วยที่ติดเชื้อไวรัสเอดส์แมวจะมีขบวนการก่อโรคที่คล้ายคลึงกับในคน
คือ การกดภูมิคุ้มกันของร่างกาย อาการที่พบมักแบ่งออกได้เป็นสามระยะคือ ระยะแรก
ภายหลังการติดเชื้อในช่วง 2-3 วันหรืออาจนานถึง 1-2 สัปดาห์ แมวจะมีไข้ ต่อมน้ำเหลืองตามร่างกายมีการขยายใหญ่
รวมทั้งมีการลดต่ำลงเม็ดเลือดขาวในกระแสเลือด ระยะที่สอง
ภายหลังจากการแสดงอาการในระยะแรก
แมวป่วยที่ได้รับการติดเชื้อมักอยู่ในระยะที่ไม่แสดงอาการ แต่มีเชื้ออยู่ในร่างกาย
รวมทั้งสามารถแพร่เชื้อสู่แมวปกติได้ แมวบางตัวสามารถมีอาการอยู่ในระยะนี้ได้นาน
และอาจนานถึงหลายปี ระยะสุดท้าย แมวป่วยจะแสดงอาการป่วยที่ไม่ระบุแน่ชัด
ขึ้นอยู่กับระบบที่ได้รับผลกระทบ
ทั้งนี้เนื่องจากการลดต่ำลงของระดับภูมิคุ้มกันในร่างกาย
ระบบการทำงานของอวัยวะที่สามารถพบความผิดปกติได้แก่ ระบบปัสสาวะ ช่องปาก เหงือก
ระบบทางเดินหายใจ
แมวป่วยมักจะแสดงอาการป่วยเรื้อรังและมีชีวิตได้เพียงไม่นานภายหลังการป่วยระยะนี้
5. โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ (Feline
infectious peritonitis ; FIP) เกิดจากการติดเชื้อในกลุ่ม Coronavirus
เชื้อไวรัสก่อโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบในแมวจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับเชื้อไวรัสที่ก่อโรคลำไส้อักเสบในแมว
หรือ feline enteric coronavirus ซึ่งเป็นเชื้อที่มีความรุนแรงต่ำกว่า
เชื้อมีการเกิด mutation และทำให้ก่อความรุนแรงมากขึ้นในแมว
โดยทั่วไปเชื้อไวรัสเยื่อบุช่องท้องอักเสบสามารถมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานประมาณ
3-7 สัปดาห์
รวมทั้งสามารถถูกทำลายด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อประเภทต่างๆ
การติดเชื้อไวรัสเยื่อบุช่องท้อง สามารถพบได้มากในแมวที่มีระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่แข็งแรง
เช่น แมวเด็กและแมวแก่ กลุ่มแมวที่เลี้ยงกันแบบหนาแน่นหรือเกิดความเครียด
นอกจากนั้นยังสามารถพบได้ในแมวป่วยด้วยโรคระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเช่น
โรคลิวคิเมีย โรคเอดส์แมว เป็นต้น โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบสามารถพบได้ในแมวทุกเพศและสายพันธุ์
6.โรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา หรือ Ringworm เป็นโรคที่พบได้บ่อยกับแมวโดยเฉพาะอย่างยิ่งแมวที่มีขนยาวอย่างเช่นพันธุ์เปอร์เซีย
เชื้อราที่ก่อโรคในแมวสามารถเกิดจากเชื้อราชนิดต่างๆคือ Microsporum
gypseum, Microsporum canis, Trichophyton mentagrophyte โดยเชื้อรา
Microsporum canis จัดเป็นเชื้อราที่ก่อโรคชนิดหลักในแมว
เชื้อราเหล่านี้จะอาศัยอยู่บนผิวหนังชั้นนอกของแมว รวมถึงบริเวณเล็บและเส้นขน
โดยใช้เคอราตินของผิวหนัง เล็บและเส้นขนเป็นอาหารในการเจริญเติบโต
ในแมวปกติบางตัวสามารถพบเชื้อราได้บนตัวแมวโดยไม่ก่อให้เกิดรอยโรค
ส่วนมากแมวที่อายุยังน้อย แมวแก่ แมวป่วย แมวเครียด มักจะพบความผิดปกติ
สุดท้ายนี้
คุณหมอได้ฝากไปถึงคนที่เลี้ยงแมวทุก ๆ ท่านว่า นอกจากจะคอยให้น้ำและอาหารแล้ว
เจ้าของแมวควรดูแลสุขภาพและหมั่นสังเกตพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของน้องเหมียวแสนรักด้วย
หากพบความผิดปกติควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ
และควรพาน้องแมวไปรับการฉีดวัคซีนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเพื่อนสี่ขาแสนรักของคุณให้แข็งแรงห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ
ขอบคุณแหล่งที่มาจาก : http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9560000095005
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น